
กำลังโหลด...

FB คุณพงษ์นรินทร์ Transfer Pricing Specialist

ทรัพย์สินไม่มีตัวตน (Intangibles) คืออะไร
เรื่อง | ทรัพย์สินไม่มีตัวตน (Intangibles) คืออะไร |
แหล่งที่มา | FB คุณพงษ์นรินทร์ Transfer Pricing Specialist |
วันที่ | |
ประเภทภาษี | |
ข้อกฎหมาย | |
คำถาม | ทรัพย์สินไม่มีตัวตน (Intangibles) คืออะไร |
คำตอบ | ว่าด้วย..ทรัพย์สินไม่มีตัวตน (Intangibles) ในแง่มุมของราคาโอน OECD ไม่ได้ให้นิยามโดยระบุว่า “ทรัพย์สินไม่มีตัวตน” คืออะไร แต่ระบุว่า “ไม่ใช่” อะไร Chapter VI, paragraph 6.6 ระบุว่า “not a physical asset or a financial asset, which is capable of being owned or controlled for use in commercial activities” (ทรัพย์สินที่ไม่ใช่ทรัพย์สินทางกายภาพและทรัพย์สินทางการเงิน เช่น เงินสด ตราสารทุน ภาระผูกพันตามสัญญาที่จะได้รับเงินสด ฯลฯ) จึงเป็นความหมายกว้างๆ ไม่ตายตัว และไม่ได้หยิบเอานิยามในทางบัญชีหรือกฎหมายมาใช้ อาจเป็นเพราะการกำหนดราคาโอนยึดตามหลัก Arm’s Length โดยข้อกำหนดด้านพาณิชย์และการเงินระหว่าง Related Co ต้องเหมือนกับข้อกำหนดสำหรับธุรกรรมที่คล้ายคลึงกันระหว่างคู่สัญญาที่เป็นอิสระต่อกัน เรื่องการกำหนดราคาโอนสำหรับ Intangibles นี้ เราไม่ต้องใช้สูตรคำนวณซับซ้อนเหมือนกับที่เล่ามาในโพสต์ก่อนครับ เราเห็นได้จาก OECD Guidelins, Chapter VI (ข้อ 6.3) ที่ยังคงแนะนำให้ใช้หลัก Arm’s Length คือเทียบราคาโอนกับราคาระหว่างบริษัทอิสระเหมือนเดิม โดยต้องพิจารณา Pricing Methods และ Comparability Analysis ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับธุรกรรมในลักษณะอื่นๆ ลักษณะของทรัพย์สินไม่มีตัวตนที่ OECD นำมาอธิบายเพื่อให้เข้าใจบริบทของการประเมิน Comparability Analysis ซึ่งส่วนหนึ่งคือการวิเคราะห์หน้าที่งาน ความเสี่ยงและทรัพย์สิน ได้แก่ สิทธิบัตร Technical Knowhow เครื่องหมายการค้า ชื่อการค้าและแบรนด์ รวมถึง สิทธิในสัญญาหรือสัมปทานของรัฐ การให้สิทธิในทรัพย์สินไม่มีตัวตน Goodwill ฯลฯ (รายละเอียดใน OECD Guidelines, Chapter VI, paragraphs 6.18-6.31) จุดที่น่าสังเกตคือ การวิเคราะห์ Functional Profile ในกรณีการโอน Intangibles จะต่างจากกรณีทั่วไปที่โดยไล่ตาม Value Chain ได้แก่ “วิจัยและพัฒนา > การผลิต > การตลาด > การขาย” แต่กรณีการโอน Intangibles แนวปฏิบัติในประกาศอธิบดีฯ ฉบับที่ 400 ข้อ 10 สอดคล้องกับ OECD Guidelines (และ United Nations) ซึ่งให้ทำ Comparability Analysis โดยไล่ตาม Value Chain แบบ DEMPE ได้แก่ “การพัฒนา (Development) > ปรับปรุง (Enhancement) > บำรุงรักษา (Maintenance) > คุ้มครอง (Protection) > แสวงหาประโยชน์ (Exploitation) จาก Intangibles” และเพิ่มเติมว่าต้องพิจารณาถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ คุณสมบัติเฉพาะตัวหรือไม่เฉพาะตัว และสิทธิในการมีส่วนร่วมพัฒนา Intangibles จากประสบการณ์ ผมสังเกตว่า Pricing Method ที่เหมาะสมที่สุดกับการโอน Intangibles คือวิธี CUP โดยเทียบเคียงราคาโอนระหว่าง MNE เช่น 5% ของยอดขายสุทธิ กับค่าสิทธิระหว่างบริษัทอิสระที่มีเงื่อนไขในสัญญาเหมือนกับเรา ดังนั้น เราจึงต้องมีฐานข้อมูลของสัญญาให้สิทธิหลายๆ แบบ เช่น โปรแกรม TP Catalyst ในยุโรป แต่ในไทยยังไม่มีฐานข้อมูลสาธารณะนี้ ดังนั้น วิธีกำหนดราคาโอนในไทยจึงต้องทำแบบอ้อม คือ ใช้วิธี TNMM เพื่อพิสูจน์ว่ากิจกรรมการผลิตสินค้าตาม License ซึ่งนำต้นทุนค่าสิทธิเข้ามาเป็นฐานต้นทุนแล้ว ทำให้ได้อัตรากำไรใกล้เคียงกับกำไรของบริษัทอิสระที่คล้ายคลึงกัน หรืออาจแปลความได้ว่า Licensee ได้เสียภาษีจากฐานกำไรก่อนภาษีไม่แตกต่างไปจากบริษัทอิสระที่คล้ายคลึงกันอื่นๆ phongnarin_r@drkilaw.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก FB: Phongnarin Ratanarangsikul ที่อนุญาตให้นำความรู้ดีๆ มาเเบ่งปันใน Website Tax-EZ ค่ะคลิ๊กที่นี่ เพื่อติดตาม FB เพจ " Phongnarin Ratanarangsikul " |