กำลังโหลด...
Facebook อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์

หน้าที่เเละภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายค่าคอมมิชชั่น ให้กับบุคคลธรรมดาที่ไม่ใช่พนักงานของบริษัทฯ


เรื่องหน้าที่เเละภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายค่าคอมมิชชั่น ให้กับบุคคลธรรมดาที่ไม่ใช่พนักงานของบริษัทฯ
แหล่งที่มาFacebook อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วันที่วันที่ถาม 15/03/2022 - วันที่ตอบ 02/05/2022
ประเภทภาษีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ข้อกฎหมายมาตรา 40 (2) มาตรา 50 (1) วรรคหนึ่ง และวรรคสอง มาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62)
ปุจฉา
กรณีจ่ายค่าคอมมิชชั่น ให้กับบุคคธรรมดาที่ไม่ใช่พนักงานของบริษัทฯ แล้วไม่หัก ณ ที่จ่าย ด้วยให้เหตุผลว่า ถือเป็นการจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40 (2) ที่ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ผู้รับเงินต้องเสียภาษี (จ่ายครั้งละไม่กี่บาท แต่หลายครั้ง แต่รวมทั้งปีไม่ถึงแสน) และพอสิ้นปีเราก็สรุปเงินที่จ่ายค่าคอมให้แต่ละราย โดยรวมเงินได้ที่จ่ายไปทั้งปีของแต่ละคน ยื่นเงินได้ ส่วนภาษีใส่เป็นยอด 0 ยื่นแบบ ภงด.1 ก ทำเป็นยื่นเพิ่มเติม แยกจากการยื่น ภงด.1 ก ที่เป็นเงินได้ของพนักงานประจำ ทำแบบนี้ในทางสรรพากรยอมรับได้มั้ยคะ
วิสัชนา
การดำเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับค่านายหน้าหรือคอมมิชชั่น ซึ่งบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อเท็จจริงข้างต้น ชอบด้วยกฎหมายแล้วครับ แต่ขอให้ปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) ฯ ให้ถูกต้องครบถ้วนด้วยครับ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก FB อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์ ที่อนุญาตให้นำความรู้ดีๆ มาเเบ่งปันใน Website Tax-EZ ค่ะ 

คลิ๊กที่นี่ เพื่อติดตาม FB เพจ "อาจารย์ สุเทพ พงษ์พิทักษ์"