บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร R.C. >> ลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร >> Revenue Taxes หมวด 3 ภาษีเงินได้ R.C. - IT

มาตรา 40 ประเภทของเงินได้พึงประเมิน

Section 40 Income categories


เรื่อง (ไทย) ส่วน 2 การเก็บภาษีจากบุคคลธรรมดา : มาตรา 40 ประเภทของเงินได้พึงประเมิน
เรื่อง (อังกฤษ) Part 2 Personal Income Tax : Section 40 Income categories
ภาษาไทย (TH)

มาตรา 40   เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

      (1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.7/2528 )

( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.23/2533 )

( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.56/2538 )

( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 )

( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )

      (2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว

( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2528 เป็นต้นไป )

( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 29/2538 )

( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 )

( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )

( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.124/2546 )     

      (3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล  

( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับปีภาษี 2502 เป็นต้นไป )

      (4) เงินได้ที่เป็น

         (ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืม หรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิด ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม  

( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ 7 พ.ย. 2534 เป็นต้นไป )

( ดูกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (30))

( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 30/2538 )

( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 664) พ.ศ.2561 )       

        "(ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงิน เพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับ ต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว"

      ( แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 52) พ.ศ. 2562 ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป )    

      เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่บุตรชอบด้วยกฎหมายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้มีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดา แต่ถ้าความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดาหรือของมารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของบิดาในกรณีบิดามารดาใช้อำนาจปกครองร่วมกัน

      ความในวรรคสองให้ใช้บังคับกับบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ด้วยโดยอนุโลม  

( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2523 ใช้บังคับปีภาษี 2523 เป็นต้นไป )       

         (ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

         (ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน

         (จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้รวมกัน

         (ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน

        "(ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน โอนหน่วยลงทุน หรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตรหรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก รวมทั้งเงินได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นกองทุนรวม ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน"

   ( แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 52) พ.ศ. 2562 ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป )  

         (ซ) เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือ ครอบครองโทเคนดิจิทัล

         (ฌ) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคา เป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน   (พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป )     

      (5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก      

         (ก) การให้เช่าทรัพย์สิน

( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วน )

( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.1/2526 )

         (ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน

         (ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว

ในกรณี (ก) ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้มีเงินได้แสดงเงินได้ต่ำไป ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินได้นั้นตามจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ตามปกติ และให้ถือว่าจำนวนเงินที่ประเมินนี้เป็นเงินได้พึงประเมินของผู้มีเงินได้ ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามส่วน 2 หมวด 2 ลักษณะ 2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

         ในกรณี (ข) และ (ค) ให้ถือว่าเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้วแต่วันทำสัญญาจนถึงวันผิดสัญญาทั้งสิ้น เป็นเงินได้พึงประเมินของปีที่มีการผิดสัญญานั้น  

( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับปีภาษี 2502 เป็นต้นไป )

      (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้

      (7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

      (8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว  

( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ใช้บังคับปีภาษี 2496 เป็นต้นไป )

( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.102/2544)

( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 )

( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.119/2545 )

( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )

( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.122/2545 )   

   เงินค่าภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทใด ไม่ว่าทอดใดหรือในปีภาษีใดก็ตาม ให้ถือเป็นเงินได้ประเภทและของ ปีภาษีเดียวกันกับเงินได้ที่ออกแทนให้นั้น 

( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2528 เป็นต้นไป )

Ref. : https://www.rd.go.th/5937.html#mata40

ภาษาอังกฤษ (EN)

Section 40 Assessable income is income of the following categories including any amount of tax paid by the payer of income or by any other person on 

behalf of a taxpayer.

      (1) Income derived from employment, whether in the form of salary, wage, per diem, bonus, bounty, gratuity, pension, house rent allowance, monetary value of rent-free residence provided by an employer, payment of debt liability of an employee made by an employer, or any money, property or benefit derived from employment.4

4R.CT.No.29/2538

D.I.(PAW) ( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.7/2528 )  D.I.(PAW) ( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.23/2533 ) D.I.(PAW) ( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.56/2538 ) D.I.(PAW) ( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 ) D.I.(PAW) ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545


      (2) Income derived from a post or from performance of work, whether in the form of fee, commission, discount, subsidy, meeting allowance, gratuity, bonus, house rent allowance, monetary value of rent-free residence provided by a payer of income, payment of debt liability of a taxpayer made by a payer of income, or any money, property or benefit derived from a post or from performance of work, whether such post or performance of work is permanent or temporary.

( พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2528 เป็นต้นไป )   ( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 29/2538 )
D.I.(PAW) ( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 )   D.I.(PAW)( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )  D.I.(PAW)( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.124/2546 )  

    

      (3) Fee of goodwill, copyright or any other rights, annuity or annual payment of income derived from a will, any other juristic act, or court decision.

( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ใช้บังคับปีภาษี 2502 เป็นต้นไป ) 


      (4) Income that is:

           (a) Interest on a bond, deposit, debenture, bill, loan whether with or without security, the part of interest on loan after deduction of withholding tax under the law governing petroleum income tax, or the difference between the redemption value and the selling price of a bill or a debt instrument issued by a company or juristic partnership or by any other juristic person and sold for the first time at a price below its redemption value. Such income also includes income assimilated to interest, benefit or other consideration derived from the provision of a loan or from a debt-claim of every kind whether with or without security. 5

5M.R.No.126 Clause 2 (30) R.CT.No.30/2538  R.D.644 BE.2561

           (b) Dividend, share of profits or any other gain derived from a company or juristic partnership, a mutual fund or a financial institution established under a specific law in Thailand for the purpose of providing a loan in order to promote agriculture, commerce or industry; the part of dividend or share of profits after deduction of withholding tax under the law governing petroleum income tax.

   For the purpose of income calculation under paragraph 1, if a lawful child who is a minor derives income and the marital status of the parents exists throughout the tax year, the income of the child shall be treated as income of the father. However, if the marital status of the parents does not exist throughout tax year, the income of the child shall be treated as income of the parent who exercises parental power, or of the father if both parents jointly exercise parental power.

   The provisions of paragraph 2 shall apply mutatis mutandis to an adopted child who is a minor deriving income.

          (c) bonus paid to a shareholder or partner of a company or juristic partnership;

          (d) a decrease of the capital holdings in a company or juristic partnership which does not exceed the total amount of profits and reserves;

          (e) an increase of capital holdings in a company or juristic partnership that is determined from the total amount of profits or reserves;

          (f) a benefit derived from the amalgamation, acquisition or dissolution of a company or juristic partnership and having the monetary value which exceeds the capital;

         (g) gains derived from transfer of partnership Transfer of investment units or transfer of shares, debentures, bonds, or bills or debt instruments issued by a company or juristic partnership or by any other juristic person.6 including the proceeds from the redemption of investment units to companies or juristic partnerships that are mutual funds. only which is appraised as more money than invested.

6M.R.No.126 Clause 2 (30) / R.C. Revise No.52 B.E.2562

        (h) share of profits or any other similar benefits derived from holding or Possessing digital tokens     

        (i) Benefit derived from the transfer of cryptocurrencies or digital tokens, only for which they are valued. is more than the investment

    

   (5) Money or any other gain derived from:

        (a) rent of property,

( ดูประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วน )  ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.1/2526 ) 

        (b) breach of a hire-purchase contract,

        (c) breach of an installment sale contract, where the seller regains the property sold without paying back the money or gains already received. 

   In the case of (a), if an assessment official has reason to believe that the taxpayer underreports the amount of income, he shall have the power to assess the income according to the reasonable rent of property under normal circumstances, and the amount so assessed shall be deemed assessable income of the taxpayer. In such case, the taxpayer may appeal against the assessment and shall apply the provisions on appeals under Part 2, Chapter 2, Title 2 mutatis mutandis.

   In the case of (b) and (c), all the money and gains received from the date of entering into contract to the date of breaching the contract shall be deemed assessable income of the year of which the contract is breached.

    

      (6) Income from liberal professions, namely, laws, arts of healing, engineering, architecture, accounting, fine arts or other liberal professions as prescribed by a Royal Decree;

      (7) Income derived from a contract of work where the contractor has to provide essential materials besides tools;

      (8) Income from business, commerce, agriculture, industry, transport or any other activity not specified in (1) - (7).

D.I.(PAW) ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.102/2544)  D.I.(PAW)  ( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 )  D.I.(PAW) ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.119/2545 )
D.I.(PAW) ( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 )  D.I.(PAW)( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.122/2545 )    


The amount of tax under paragraph 1, which is paid for by the payer of income or by any other person on behalf of taxpayer on any category of income or in 

whichever tax year, shall be treated as income of the same category and of the same tax year as the income where payment of tax is made.

Ref. : https://www.rd.go.th/english/37749.html#section40

Tax-EZ(easy) Note