ประกาศกรมสรรพากร D.N.

ประกาศกรมสรรพากร


เรื่อง (ไทย) การประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลแบบชาร์เตอร์ (Charter Services)
เรื่อง (อังกฤษ)
ภาษาไทย (TH)

คําชี้แจงกรมสรรพากร

เรื่อง  การประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลแบบชาร์เตอร์ (CharterServices)

_________________

            เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะตลอดจนภาระภาษีมูลค่าเพิ่มของการประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลแบบชาร์เตอร์ (Charter Services) กรมสรรพากรจึงขอชี้แจง ดังนี้

            การประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเลแบบชาร์เตอร์ (Charter Services) แบ่งออกเป็น 3 ประเภทแต่ละประเภทมีลักษณะและภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้

            1. การจ้างเป็นรายเที่ยว (Voyage Charter) เป็นสัญญาระหว่างเจ้าของเรือ (Owner) และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง (Charterer) เจ้าของเรือเป็นผู้ประกอบกิจการขนส่ง โดย Charterer จะนําสินค้ามอบให้เจ้าของเรือแล้วเจ้าของเรือเป็นผู้นําสินค้าไปส่งปลายทาง นายเรือและลูกเรือเป็นลูกจ้างของเจ้าของเรือ อํานาจในการสั่งการและสิทธิครอบครองเรือยังอยู่กับเจ้าของเรือ เจ้าของเรือต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางทะเล ดังนั้น สัญญาจ้างเป็นรายเที่ยว Voyage Charter จึงเป็นสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าทางทะเล ซึ่งมีภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้

                   (1) กรณีการประกอบกิจการขนส่งภายในราชอาณาจักร เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร แต่การให้บริการดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ณ) แห่งประมวลรัษฎากร

                   (2) กรณีการประกอบกิจการขนส่งในราชอาณาจักรออกไปนอกราชอาณาจักรหรือ การขนส่งนอกราชอาณาจักรเข้ามาในราชอาณาจักรเข้าลักษณะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร หากการประกอบกิจการ ขนส่งในราชอาณาจักรออกไปนอกราชอาณาจักรที่เป็นการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเลที่กระทําโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล เข้าลักษณะเป็นการขนส่งระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล ผู้เสียภาษีจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคํานวณภาษีในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (3) แห่งประมวลรัษฎากร

            2. การเหมาแบบมีกําหนดระยะเวลา (Time Charter) เป็นสัญญาระหว่างเจ้าของเรือ (Owner) และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง (Charterer) ที่นายเรือและลูกเรือเป็นลูกจ้างของเจ้าของเรือ โดยเจ้าของเรือมีอํานาจในการสั่งการและครอบครองเรือ แต่ Charterer เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายน้ํามันเชื้อเพลิงในการเดินเรือ เนื่องจาก Charterer สามารถสั่งเรือให้ไปที่ใดก็ได้ เจ้าของเรือไม่สามารถคิดค่าน้ํามันล่วงหน้าได้ หาก Charterer ไม่ชําระค่าระวาง ทางเจ้าของเรือมีสิทธิถอนเรือจากการขนส่งได้ เรือยังอยู่ในความควบคุม ครอบครองและอํานาจสั่งการของเจ้าของเรือ โดยมีนายเรือและลูกเรือครอบครองแทน กรณีดังกล่าวไม่ได้มีลักษณะเป็นการส่งมอบเรือให้ Charterer เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ดังนั้น สัญญาเหมาแบบมีกําหนดระยะเวลา (Time Charter) จึงเป็นสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้าทางทะเลซึ่งมีภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้

                   (1) กรณีการประกอบกิจการขนส่งภายในราชอาณาจักร เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร แต่การให้บริการดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ณ) แห่งประมวลรัษฎากร

                   (2) กรณีการประกอบกิจการขนส่งในราชอาณาจักรออกไปนอกราชอาณาจักร หรือการขนส่งนอกราชอาณาจักรเข้ามาในราชอาณาจักร เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร หากการประกอบกิจการขนส่งในราชอาณาจักรออกไปนอกราชอาณาจักรที่เป็นการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล ที่กระทําโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล เข้าลักษณะเป็นการขนส่งระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล ผู้เสียภาษีจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคํานวณภาษีในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 (3) แห่งประมวลรัษฎากร

            3. การประกอบกิจการตามสัญญาเช่าเรือเปล่า (Bareboat Charter) เป็นสัญญาเจ้าของเรือ (Owner) ต้องส่งมอบการครอบครองเรือเปล่าให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง (Charterer) โดยการดูแลรับผิดชอบเรื่องการเดินเรือ การจ้างนายเรือและลูกเรือ รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับเรือ อยู่ในความรับผิดชอบของ Charterer ดังนั้นสัญญาเช่าเรือเปล่า (Bareboat Charter) จึงเป็นสัญญาเช่าทรัพย์สินและเข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร หากการให้บริการดังกล่าวเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร หรือเป็นการให้บริการที่ทําในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการในราชอาณาจักร เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร


จึงขอชี้แจงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน



กรมสรรพากร

1 ตุลาคม 2565



กองกฎหมาย 0 2272828

ภาษาอังกฤษ (EN)

ขออภัย สำหรับหัวข้อนี้ไม่มีการแปลภาษาอังกฤษค่ะ

Sorry, This Regulation doesn’t have English Translation.

Tax-EZ(easy) Note